ข้อมูลหน่วยงาน

10th Health Service Support Center

ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10

ความเป็นมาของ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10

          ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดดำเนินการครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2512 ใช้ชื่อว่าหน่วยยานพาหนะจังหวัดอุบลราชธานี    ใช้บริเวณโรงรถของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติงาน และ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ช่างบำรุงที่ 5 (อุบลราชธานี) ซึ่งสังกัดกองช่างบำรุง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ เมื่อ พ.ศ.2545 ได้มีพระราชกฤษฎีกา โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ข้าราชการ ลูกจ้าง เฉพาะที่เกี่ยว กับกองช่างบำรุงมาสังกัด กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองวิศวกรรมการแพทย์ และ ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม จึงออกคำสั่งกำหนดโครงสร้างภายใน หน้าที่ของกองวิศวกรรมการแพทย์คำสั่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1/2545 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2545 และ คำสั่งกองกองวิศวกรรมการแพทย์ที่ 1/2545 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 กำหนดอำนาจหน้าที่ของศูนย์ฯและพื้นที่การปฏิบัติงานของศูนย์ฯดังนี้

โครงสร้างภายในและหน้าที่รับผิดชอบในอดีต โครงสร้างที่กำหนดตามภารกิจ ประกอบด้วย
1. งานบริหารทั่วไป
2. งานส่งเสริมสนับสนุน
3. งานพัฒนา

อำนาจหน้าที่ของศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 5 (อุบลราชธานี) เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งในส่วนภูมิภาคมีลักษณะงานในหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1. สนับสนุน ประสานงาน ให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมการแพทย์ ให้กับหน่วยงานและหน่วยบริการสุขภาพในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2. ส่งเสริม สนับสนุน และถ่ายทอดเกี่ยวกับองค์ความรู้และเทคโนโลยี่ด้านวิศวกรรมการแพทย์ให้กับหน่วยงานและหน่วยบริการสุขภาพ ที่ขอรับการสนับสนุน
3. วางแผนปฏิบัติงาน เพื่อสนับสนุนด้านวิศวกรรมการแพทย์ให้กับหน่วยงานและหน่วยบริการสุขภาพ ในพ้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบทั้งยามปกติ และ ยามเกิดอุบัติภัย หรือ ภัยพิบัติ
4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

          ในการให้บริการครั้งแรกนั้นมีเพียงกิจกรรมด้านการซ่อมบำรุงยานพาหนะเป็นหลัก ต่อมาความต้องการของผู้ใช้บริการซึ่งมีทั้งหน่วยงานโรงพยาบาลและสถานบริการ สาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นกองวิศวกรรมการแพทย์จึงได้มอบให้ศูนย์ฯขยายกิจกรรม เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการ เช่น งานด้านไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น งานด้านอุปกรณ์การแพทย์ งานด้านครุภัณฑ์สำนักงาน และ ได้เพิ่มกิจกรรม การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือทางการแพทย์ งานด้านวิศวกรรมความปลอดภัย งานด้านอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น   ด้านการให้บริการ

ในปี พ.ศ.2512-2528 ศูนย์ฯให้บริการด้านการซ่อมบำรุงรักษายานพาหนะ ครุภัณฑ์ไฟฟ้า เครื่องทำความเย็น และ ครุภัณฑ์สำนักงาน โดยให้บริการทั้งในและนอกที่ตั้งโดยมีขอบเขตการรับผิดชอบ 6 จังหวัดคือ
1. จังหวัดอุบลราชธานี
2. จังหวัดศรีสะเกษ
3. จังหวัดยโสธร
4. จังหวัดมหาสารคาม
5. จังหวัดร้อยเอ็ด
6. จังหวัดมุกดาหาร

          ในปี 2556 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็น สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขตเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและสุขภาพภาคประชาชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพของกระทรวงสาธารสุข

สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้บริการกับสถานบริการสุขภาพในกิจกรรม แบ่งตามกลุ่มภารกิจคือ
1. กลุ่มบริหาร
2. กลุ่มยุทธศาสตร์
3. กลุ่มวิศวกรรมการแพทย์
4. กลุ่มสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
5. กลุ่มอาคารและสภาพแวดล้อม
6. กลุ่มคุณภาพมาตรฐานการบริการ

มีจังหวัดในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดศรีสะเกษ
2. จังหวัดยโสธร
3. จังหวัดอำนาจเจริญ
4. จังหวัดอุบลราชธานี
5. จังหวัดมุกดาหาร

          ในปี 2562 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็น ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1-12 เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและสุขภาพภาคประชาชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพของกระทรวงสาธารสุข

ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 ได้ให้บริการกับสถานบริการสุขภาพในกิจกรรม แบ่งตามกลุ่มภารกิจคือ
1. กลุ่มบริหารงานทั่วไปและแผนงาน
2. กลุ่มวิชาการและมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ
3. กลุ่มมาตรฐานวิศวกรรมการแพทย์
4. กลุ่มสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
5. กลุ่มมาตรฐานอาคารและสภาพแวดล้อม
6. กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ

มีจังหวัดในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดศรีสะเกษ
2. จังหวัดยโสธร
3. จังหวัดอำนาจเจริญ
4. จังหวัดอุบลราชธานี
5. จังหวัดมุกดาหาร

          ในปี 2566 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้มีการปรับเปลี่ยนอำนาจการบริหารโดยให้หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 7-10 ขึ้นอยู่กับศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัจจุบัน ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 10 ได้ให้บริการกับสถานบริการสุขภาพในกิจกรรม แบ่งตามกลุ่มภารกิจคือ
1. กลุ่มบริหารงานทั่วไป
2. กลุ่มวิศวกรรมการแพทย์
3. กลุ่มสุขศึกษาและสุขภาพภาคประชาชน
4. กลุ่มอาคารและสภาพแวดล้อม
5. กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ

มีจังหวัดในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัด ดังนี้
1. จังหวัดศรีสะเกษ
2. จังหวัดยโสธร
3. จังหวัดอำนาจเจริญ
4. จังหวัดอุบลราชธานี
5. จังหวัดมุกดาหาร

วิสัยทัศน์ ศบส.10

วิสัยทัศน์

เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน การคุ้มครองผู้บริโภค ด้านระบบบริการสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพภาคประชาชน ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

พันธกิจ ศบส.10

พันธกิจ

1. ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม กำกับ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถานบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐาน
2. ส่งเสริม สนับสุน พัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภาคีเครือข่ายและท้องถิ่นในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานรวมทั้งการจัดการนวัตกรรมสุขภาพชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพภาคประชาชน
3. ส่งเสริม สนับสุน และพัฒนางานด้านสุขศึกษาเชิงรุก เพื่อพัฒานาพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องของประชาชน
4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ระบบบริการสุขภาพ และระบบสุขภาพภาคประชาชน รวมทั้งดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีแก่องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน

ภารกิจ อำนาจ หน้าที่ ศบส.10

ภารกิจ

ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม กำกับ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถานบริการสุขภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน

อำนาจ หน้าที่

1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการพัฒนาระบบบริการ สุขภาพ
3. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้ ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เกิดผลสำเร็จแก่ ราชการและประชาชน
4. ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการดำเนินสุขศึกษา และระบบสุขภาพของประชาชน
5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านความช่วยเหลือ ความร่วมมือ และการประสานงานกับหน่วยงาน หรือองค์การต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ ความรู้และเทคโนโลยีด้าระบบบริการสุขภาพแก่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบ หมาย

โครงสร้าง ศบส.10

โครงสร้าง ศบส.10

แผนธรรมาภิบาล

แผนธรรมาภิบาล

1. ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม
            1.1 สร้างระบบการมีส่วนของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ โดยมุ่ง เน้น การหาฉันทามติที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย
2. ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
            2.1 มุ่งมั่นสร้างจิตสำนึกในการให้บริการ สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่าง เสมอภาค
            2.2 พัฒนาระบบการเรียนรู้ความต้องการและความคาดหวัง ของผู้รับบริการและความคาดหวังของผู้รับบบริการและผู้มี ส่วนได้ส่วนสีย เพื่อสามารถตอบสนองได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
            2.3 ให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดการข้อรองเรียน ข้อ เสนอแนะคำชมเชยเกี่ยวกับบริการ ของผู้รับบริการและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย
3. ด้านองค์การ
            3.1 มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามภารกิจขององค์การให้เป็นที่ ยอมรับของสังคม และบรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยใช้ทรัพยากรให้ เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดความคุ้มค่า
            3.2 สร้างและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทีมบุคลากรเพื่อให้ องค์การมีความเข้มแข็ง สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
            3.3 ส่งเสริมให้เกิดระบบสร้างจิตสำนึก คุณะรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติภารกิจของบุคลากร โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
4. ด้านผู้ปฏิบัติงาน
            4.1 มุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากร มีสมรรถนะที่สามารถตอบ สนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ โดย ให้กระบวนการบริหารการจัดการความรู้ที่เหมาะสม
            4.2 เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ขององค์กร เพื่อเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้

นโยบายผู้บริหาร

นโยบายผู้บริหาร

1. ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนโยบายปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
2. ส่งเสริมบทบาทหน่วยงานในสังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการประสานการทำงานกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
3. จัดหาสถานที่สร้างอาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อให้เป็นเอกภาพขององค์กร
4. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะการทำงานในระดับกรม ซึ่งบุคลากรทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการทำงาน
5. พัฒนาการบริหารจัดการ เน้น การพัฒนา 2 ด้าน คือ พัฒนาสถานที่ปฏิบัติงาน ให้มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ยึดตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้
6. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคล สร้างขวัญกำลังใจ และความก้าวหน้าใน การปฏิบัติงานของบุคลากรโดยเฉพาะการกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น และการปรับโครงสร้างหน่วยงาน
7. พัฒนาการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการให้มีความ สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และนโยบายรัฐบาล

ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์
1. คุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ
2. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน
3. เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาเครือข่าย
4. พัฒนาขีดความสามารถสมรรถนะด้านการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร